Hba1c เกี่ยวอะไรกับเบาหวาน ??
ค่าที่ควรรู้ เพื่อดูแลห่างไกล
จากเบาหวาน ??
++++++++++++++
ตรวจสุขภาพเพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน
การตรวจสิ่งเหล่านี้เพิ่ม
ทำให้ดูแลเบาหวานและป้องกันโรคแทรกซ้อนดีขึ้น
ฮีโมโกลบิน เอ วัน ซี ( Hemoglobin A1C ; Hb A1C )
เป็นการตรวจเพื่อดูค่าเฉลี่ยน้ำตาลในช่วง 2 – 3 เดือน
ก่อนตรวจว่าคุมได้ดีเพียงใด
Hemoglobin เป็นสารในเม็ดเลือดแดงที่มีหน้าที่พาออกซิเจนไปส่วนต่างๆ ของร่างกาย เมื่ออยู่ในร่างกาย เมื่ออยู่ในกระแสเลือดจะมีส่วนของฮีโมโกลบินที่มีน้ำตาลมาเกาะเรียกว่า Hb A1C ค่า Hb A1C จะสูงถ้าน้ำตาลในเลือดสูงอยู่ตลอด และจะบอกถึงค่าเฉลี่ยของน้ำตาลในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา เนื่องจากเม็ดเลือดแดงมีอายุเพียงประมาณ 120 วัน
จากการศึกษาพบว่า ถ้าคุมเบาหวานให้ดีลด HbA1C ลง 1%
จะลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนของ ตา ไต เส้นประสาท
ลงได้ 35% ลดการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้ 14%
และลดอัตราตายที่เกี่ยวกับโรคเบาหวานได้ 21%
ควรตรวจ HbA1C ปีละ 1-4 ครั้ง เพื่อประเมินผลการควบคุม
เบาหวาน โดยถือว่าการควบคุมเบาหวานที่ดี
ควรมีระดับ Hb A1C ไม่เกิน 7% และจะดีมาก
ถ้าคุมให้ลดได้ถึงน้อยกว่า6%
ไต อาจประเมินปีละ 1 – 2 ครั้ง
โดยเฉพาะถ้าเป็นเบาหวานมานานเกิน 5 ปี
โดยตรวจพิเศษจากปัสสาวะ (URINE MICROALBUMIN)
ซึ่งจะเป็นตัวบอกเหตุได้เร็วที่สุดถ้าเกิดปัญหาแทรกซ้อนที่ไต ทำให้ป้องกันปัญหาลุกลามได้แต่เนิ่นๆ
การตรวจเลือดเพื่อประเมินการทำงานของไตปีละครั้ง
และการพบแพทย์โรคไตก็อาจจะจำเป็นในบางกรณี
ตา ผู้ป่วยเบาหวานมีโอกาสเกิดโรคที่ตาง่ายกว่าผู้ป่วยที่ไม่เป็นเบาหวาน เช่น ต้อกระจก กระจกตาถลอก
และที่สำคัญ คือ เบาหวานเข้าจอประสาทตา
เป็นสาเหตุสำคัญของตาบอด
ผู้ป่วยเบาหวานจึงควรพบจักษุแพทย์ อย่างน้อยปีละครั้ง
เพื่อขยายม่านตา ตรวจจอประสาทตาโดยละเอียด
การรักษาด้วยเลเซอร์ เมื่อพบความผิดปกติที่สำคัญ
จะลดการสูญเสียการมองเห็นได้มากกว่าครึ่ง
เท้า ผู้ป่วยเบาหวานเกิดแผลที่เท้า 15% ตลอดชั่วชีวิต
แผลอาจเกิดโดยไม่รู้สึกตัว และใช้เวลารักษานาน
นอกจากนี้โอกาสถูกตัดเท้าสูงกว่าผู้ป่วยที่ไม่เป็นเบาหวาน
15-46 เท่า การตรวจเท้าอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
โดยแพทย์ที่ชำนาญเพื่อประเมินความเสี่ยง
จะทำให้ดูแลเท้าได้อย่างรอบคอบ
ป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นกับเท้าได้มากกว่าครึ่ง
การตรวจสุขภาพเท้าประกอบด้วย
1. ประเมินผิวหนัง รอยช้ำและรูปร่างเท้า
2. ตรวจสอบประสาทสัมผัส
3. ตรวจหาจุดรับน้ำหนักที่เสี่ยงต่อการเกิดปัญหา
ระบบหลอดเลือด การตรวจความผิดปกติของหลอดเลือดขนาดใหญ่ โดยการใช้เครื่องวัด ABI (Ankle-Brachial Index)
ช่วยบ่งชี้ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ อัมพาต
อัมพฤกษ์ ซึ่งเมื่อพบความผิดปกติ
สามารถพิจารณาให้ยาเพื่อป้องกันและลดความเสี่ยง
ข้อบ่งชี้ในการตรวจวัด ABI
1. เป็นเบาหวานอายุมากกว่า 50 ปี
2. เป็นเบาหวานอายุน้อยกว่าหรือเท่ากับ 50 ปี ร่วมกับ
- เป็นเบาหวานนานเกิน 10 ปี
- สูบบุหรี่ ไขมันในเลือสูง ความดันโลหิตสูง
เป้าหมายที่ควรควบคุมให้ได้
1. FPG < 120 น้ำตาลตอนเช้าก่อนอาหาร
ควรต่ำกว่า 120 มก.%
2. HbA1C < 7 ค่าเฉลี่ยน้ำตาลสะสม (ตรวจทุก 3-6 เดือน)
ควรน้อยกว่า 7% แสดงถึงว่าควบคุมเบาหวานได้ดี
เสมอต้นเสมอปลาย
3. CHOLESTEROL < 200 ;
TRIGLYCERIDE < 150 ;
HDL > 40 ;
LDL < 100
ระดับไขมันในเลือด ควรดูแลให้
คอเลสเตอรอลน้อยกว่า 200 มก.%
ไตรกลีเซอไรด์น้อยกว่า 150 มก.%
ไขมันดี (เอชดีแอล) มากกว่า 40 มก.%
และไขมันร้าย (แอลดีแอล) น้อยกว่า 100 มก.%
เพื่อลดโอกาสการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ
และเส้นเลือดสมองตีบ
4. BMI < 25 น้ำหนักตัวต้องไม่มากเกิน คือ BODY MASS INDEX น้อยกว่า 25 กิโลกรัม น้ำหนักตัวหารด้วยส่วนสูงเป็นเมตรยกกำลังสอง
5. BP < 130/80 mm. Hg ปกติความดันโลหิตสูงไม่ควรเกิน 140/90 mm. Hg ในผู้ป่วยเบาหวานพบว่า ถ้าต่ำกว่า 130/80 mm.Hg จะเกิดผลดีกว่า เพราะลดโอกาสเกิดไตเสื่อม
6. NO SMOKING บุหรี่มีผลเสียทุกมวนที่สูบ ทำให้เส้นเลือดหัวใจสมองเสื่อมเพิ่มขึ้น ผู้ป่วยเบาหวานต้องไม่สูบบุหรี่
เป้าหมายที่ควรควบคุมให้ได้
1. FPG < 120
2. HbA1C < 7
3. CHOLESTEROL < 200 ;
TRIGLYCERIDE < 150 ;
HDL > 40 ; LDL < 100
4. BMI < 25
5. ความดันโลหิต < 130/80 mm. Hg
6. NO SMOKING
เครดิตจาก bangkokhealth
UMI ดูแลลึกถึง Hba1C ศึกษาเพิ่มเติมได้ http://bit.ly/agel-umi-baowan
==============
ไม่อยากทานยาเบาหวานตลอดชีวิต
ต้องลดและดูแลน้ำตาลสะสมให้ลดลง
ดูแลเองมานานไม่ลดลงสักที
ปรึกษา ได้ที่
ผู้เชี่ยวชาญ คุณจอยริน
โทร 062-636-9495
Line : @gelsociety
สั่งซื้อ ปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญ คุณจอยริน
คลิ๊กได้ที่ลิงค์เพื่อแอดไลน์อัตโนมัติเลยค่ะ http://bit.ly/gelsociety